สถานบริการยุติการตั้งครรภ์ ในเครือข่าย RSA หาได้ที่ไหน?
สถานบริการที่สามารถบอกบริการสาธารณะได้
ส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชน ผู้เข้ารับบริการสามารถติดต่อเพื่อขอเข้ารับบริการได้ด้วยตนเอง ดูสถานบริการเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ rsathai.org ที่นี่ (คลิก)
สมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA ทำหน้าที่ดูแลการจัดทำฐานข้อมูลสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ให้เป็นปัจจุบัน
ในกรณีที่สถานบริการมีการเปลี่ยนแปลงการให้บริการ สามารถติดต่อเพื่อปรับปรุงข้อมูลได้ที่ Line Official Account โดยเพิ่มเพื่อนในไลน์ชื่อ @rsathai หรือคลิกที่นี่ (คลิก)
สถานบริการที่ต้องประสานก่อนส่งต่อเข้ารับบริการ
ส่วนใหญ่เป็นภาครัฐ สมาชิกเครือข่าย RSA สามารถเข้าถึงข้อมูลสถานบริการยุติการตั้งครรภ์เหล่านี้ได้จาก “ระบบสมาชิก RSA 360” (เพื่อขอรับ ID และ Password ทางอีเมล เพื่อเข้าถึงรายละเอียดบริการ รวมทั้งชื่อผู้ติดต่อและโทรศัพท์) (คลิก)
เว็บไซต์ rsathai.org ยังมีข้อมูลที่ติดต่อสถานบริการฝังยาใส่ห่วง
ที่ได้จากรายงานการเบิกจ่ายของ สปสช. เข้าถึงข้อมูลได้ที่นี่ (คลิก)
สมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA
หรือ ARSA (Association for RSA Development) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายอาสา RSA สำนักงานสาขาของสมาคมตั้งอยู่ภายในที่ทำการของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สมาคมฯ พัฒนาและก่อกำเนิดจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2563 โดยคณะผู้บริหารของสมาคมฯ เป็นสมาชิกเครือข่ายอาสา RSA ในระดับผู้ประสานงานกลางและภูมิภาค ซึ่งเป็นคณะบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานในเครือข่ายอาสา RSA ที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
สมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA หรือ ARSA (Association for RSA Development)
ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานจำนวน 7 ข้อดังต่อไปนี้
- สนับสนุนการดำเนินงานหรือกิจกรรมของเครือข่ายอาสา RSA
- สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วนต่อทางเลือกเมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม การคุมกำเนิด และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
- ให้คำปรึกษา อบรมและเผยแพร่ความรู้ นโยบาย แนวปฏิบัติ การดูแลรักษาแก่สมาชิก บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และสังคม
- สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาวิจัย การพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในประเทศ ระหว่างประเทศ และนานาชาติ
- สนับสนุนนโยบายภาครัฐตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศล หรือองค์การสาธารณประโยชน์อื่นๆ
แนวทางการส่งต่อสถานบริการยุติการตั้งครรภ์
หลังให้บริการปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม
ข้อเท็จจริงของการส่งต่อบริการ..
บริการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวมในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการส่งต่อจากหน่วยบริการปรึกษาไปยังสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ และร่วมมือกันติดตามหลังยุติการตั้งครรภ์
สถานบริการยุติการตั้งครรภ์ มีเงื่อนไขและเกณฑ์ในการให้บริการที่แตกต่างกัน เช่น อายุครรภ์ที่รับได้ ข้อบ่งชี้ที่จะให้บริการ อายุผู้รับบริการที่ต้องมีผู้ปกครองลงนาม เป็นต้น
สถานบริการของภาครัฐส่วนใหญ่ ไม่สามารถบอกบริการสาธารณะได้ การเข้ารับบริการจะต้องประสานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบก่อนว่าสามารถรับได้หรือไม่
แนวทางการส่งต่อบริการ..
[ 1 ]
ควรมีข้อมูลของสถานบริการที่จะส่งต่อ โดยเฉพาะอายุครรภ์และข้อบ่งชี้ที่รับได้ เพื่อความมั่นใจว่า เมื่อส่งต่อไปสามารถให้บริการยุติการตั้งครรภ์ได้จริง
[ 2 ]
ควรทราบอายุครรภ์ที่แน่นอนด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ (หากจำประจำเดือนไม่ได้) และวันที่เดินทางไปรับบริการได้จริง เพื่อที่ไม่เกินอายุครรภ์ที่สถานบริการรับได้
[ 3 ]
สถานบริการรัฐที่ต้องประสานนัดหมายก่อนเข้ารับบริการ ควรอธิบายให้ผู้รับบริการรับทราบวัน-เวลานัดหมาย หน่วยบริการที่ไป และเงื่อนไขการเข้ารับบริการ
[ 4 ]
ให้รายละเอียดสถานที่ตั้ง ค่าใช้จ่าย และซักซ้อมความเข้าใจในการเดินทาง รวมทั้งเบอร์ติดต่อสถานบริการนั้น
[ 6 ]
เป็นข้อตกลงระหว่างสถานบริการว่าจะใช้เอกสารส่งตัว และ/หรือ เอกสารที่มีแพทย์ลงนาม 1 คน
[ 7 ]
ย้ำเตือนให้ผู้รับบริการกลับมาติดตามผลการยุติการตั้งครรภ์ และคุมกำเนิด หากไม่สามารถเดินทางกลับไปได้ ให้หน่วยงานส่งต่อแนะนำ ประสาน จัดหาที่ให้บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร