- ดำเนินงานโครงการ อาสาพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม (Strengthening Safe Abortion Referral Network in Thailand) เน้นการเพิ่มจำนวนหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ และสร้างต้นแบบการส่งต่อในระดับเขตสุขภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้าใจสาธารณะผ่านช่องทางออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย
สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
ระยะเวลาดำเนินการ : พฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2565 - การศึกษาวิจัยเรื่อง บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวมในประเทศไทย (Situation of Comprehensive Abortion Care in Thailand) เพื่อศึกษาสถานะของการให้บริการในประเทศไทยทั้งในด้านสถานการณ์ นโยบาย กฎหมาย รวมทั้งความเห็นของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ เป็นการดำเนินงานร่วมกับ WHO Collaborating Center (WHO CC) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนับสนุนโดย : World Health Organization/ South East Asia (WHO/SEARO)
ระยะเวลาดำเนินการ : ตุลาคม 2563 – มกราคม 2564 - เข้าร่วมแลกเปลี่ยน–นำเสนอเพื่อปรับแก้กฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้งมาตรา 301 และ 305 ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในระดับปฏิบัติการ ในเวทีวิชาการและกรรมาธิการต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย สถาบันพระปกเกล้า กรรมาธิการสภาผู้แทน ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ในปี พ.ศ. 2563
- การนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์การให้บริการ เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การปรับวิธีการเบิกจ่ายให้สอดคล้องกับกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2564
- ร่วมเป็นคณะทำงานในการพัฒนาร่างข้อบังคับแพทยสภา และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการปรับแก้กฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง พ.ศ. 2564 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564
- การสนับสนุนทางวิชาการกับเครือข่ายอาสา RSA โดยการออกแบบบันทึกทางการแพทย์เพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (Medical record) ให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายทำแท้ง พ.ศ. 2564 และ ข้อบังคับแพทยสภา เพื่อให้แพทย์และทีมงานได้บันทึกสุขภาพครบถ้วนตามข้อบ่งชี้ตามกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำ One page knowledge ให้ผู้รับบริการรับทราบวิธีการยุติการตั้งครรภ์ และการดูแลปฏิบัติตัวให้ปลอดภัย